Search
Close this search box.

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs)

ประเภทของแท่นเจาะนํ้ามัน (Types of Oil Rigs) 

           ริก(Rig) หรือ หรือแท่นเจาะนํ้ามันหากแยกประเภทตามลักษณะสภาพการนําไปใช้งานก็สามารถแบ่งออกได้เป็นสอง กลุ่ม คือแท่นบกหรือที่นิยมเรียกทัพศัพท์ว่าแลนด์ริก (Land Rig)  และแท่นเจาะนํ้ามันนอกชายฝัง (อ๊อฟชอร์ ริก, Offshore rig )

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 1

ตัวอย่างแท่นเจาะนํ้ามันบก (Land Rig)

แท่นเจาะนํ้ามันบกนี้ ในบ้านเราก็มีให้เห็นอยู่หลายที่ด้วยกันตามแหล่งนํ้ามัน (Oil field ) ต่างๆเช่น แหล่งนํ้ามันสิริกิติที่ลานกระบือ จังหวัดกําแพงเพชร .. แหล่งนํ้ามันวิเชียรบุรี-เพชรบูรณ์ … แหล่งนํ้ามันสังฆจาย-สุพรรณบุรี   และอื่นๆ

Offshore Rigs       
          ส่วน offshore rig  จะเป็นแท่นที่ใช้ขุดเจาะนํ้ามันที่อยู่นอกชายฝังหรือในทะเล หรือตามน่านนําของประเทศต่างๆ ซึ่ง จะมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

Swamp barges

swamp barge  คือริกที่ มีการติ้ดตั้งแท่นเจาะฯไว้ บนแพ เหมาะสําหรับ ขุดเจาะบริเวณนํ้าตื้นๆ เช่น หนองนํ้าหรือ

แม่นํ้า เป็นต้น หรือ บริเวณ ชายฝังที่มีคลื่นลมไม่แรงมาก

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 3

Tender Barges หรือ Tender rig  หรือ Drilling Barges

          แท่นแบบนี้จะออกแบบเหมือนกับแพบรรทุก ซึงจะบรรทุกแท่นขุดเจาะฯไปประกอบและติดตั้งที่ platform ต่างๆ และเมื่อเจาะเสร็จก็แยกแท่นออกเป็นส่วนย่อยและบรรทุกไว้บนแพเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ต้องการเจาะลําดับถัดไป
          ข้อดีคือ ค่าเช่า(day rate)จะราคาถูกกว่าแท่นเจาะแบบอื่นๆ และเหมาะสําหรับบริเวณที่มีหลุมนํ้ามันอยู่ใกล้ๆกัน กล่าวคือ เมื่อติดตั้งแท่นเจาะฯบน platform เสร็จเรียบร้อยก็สามารถเจาะได้หลายๆหลุมในเวลาไล่เลียกัน  โดยไม่ต้องถอดและเคลื่อน ย้ายตําแหน่งไปที่อื่น  ซึ่งทําได้โดยเพียงแค่เลื่อนตําแหน่งแท่นเจาะนิดหน่อย ( Skid) ในระยะไม่กี่เมตรก็สามารถเจาะเพิ่มได้เลย
          ข้อเสียคือ   การถอดประกอบและติดตังแต่ละครังเป็นอะไรที่ยุ่งยากและที่สําคัญคือจะทําการขุดเจาะได้เฉพาะบริเวณที่มีการติดตั้งหรือสร้าง platform รอไว้ก่อนเท่านัน

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 5

แท่นถูกนําขึ้นไปประกอบและติดตั้งบน platform เรียบร้อย

Jack Up Rig

       Jack Up คือ แท่นทีมี โครงสร้างของฐานหรือขา 3 ขาจุ่มลึกลงไปถึงก้น ทะเล  ส่วนของฐานหรือลําตัวจะ ลอยสูงเหนือผิวนํ้าและ สามารถปรับระดับขึ้นลงได้ ข้อดีคือ ริกแบบนี่จะเข้า ประจําตําแหน่งได้รวดเร็ว ลดการเสียเวลาในการเคลื่อนย้ายซึ่งเหมาะกับ งานสํารวจ (exploration) ซึ่งถ้าเจอก็เก็บข้อมูลไว้ให้ นักธรณีวิเคราะห์แต่ถ้าไม่ เจอก็กลบหลุมแล้วเคลื่อน ย้ายไปสํารวจที่อื่นต่อไป ข้อจํากัดคือ สามารถปฏิบัติ การได้ที่ความลึกสูงสุด 500 ฟุต หรือเท่ากับ 152.4 เมตร เท่านั้น

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 7

Submersible drilling rig 

      Submersible  โครงสร้างหรือแท่นขุดเจาะที่สามารถจุ่มนํ้าได้  แท่นขุดเจาะฯแบบนี้โดยทั่วไปจะใช้งานหรือใช้ขุดเจาะ นํ้ามันบริเวณนํ้าตื้นๆ ประมาณ 80 ฟุตหรือน้อยกว่า การเคลื่อนย้ายก็ทําโดยใช้เรือลากจูงไปยังสถานที่ที่ต้องการจะขุดเจาะ และจุ่มลงไปให้นังอยู่กับพื้นดินใต้นํ้า (submerged until it sits on the bottom) 

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 9

ภาพประกอบจากกลูเกิล

***   แท่นเจาะนํ้ามันแบบอื่นๆนันผู้เขียนได้เคยไปเซอร์วิช  ทํางาน และกินอยู่หลับนอนมาหมดแล้วทุกประเภท   ยกเว้นริก ประเภทนี้ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยเห็นมาก่อน ซึงคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นแท่นเจาะรุ่นเก่าๆหรือแท่นเจาะรุ่นแรก

Semi-Submersible  หรือแท่นขุดเจาะแบบลอยตัวกึ่งจม

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 11

Semi Submersibles คือ แท่นที่ถูกออกแบบและคํานวณมาให้สามารถลอยตัวอยู่ในนํ้าได้ …โครงสร้างติดตั้งบนเสาหรือ คอลัมน์ขนาดใหญ่ (culumns) และทุ่นท้องแบน(Pontoons) ขนาดใหญ่เป็นตัวรับนํ้าหนักอยู่ด้านล่างใต้นํ้าและจมอยู่ในระดับ ความลึกที่กําหนด 

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 13

แท่นประเภทนี้เมื่อเข้าสู่ตําแหน่งปฏิบัติการหรือตําแหน่งที่ ต้องการเจาะแล้วกัปตันผู้ควบคุมดูแลจะสังให้ทําการทิงสมอขนาด ใหญ่( Huge mooring anchors) ลงสู่ก้นทะเล เพื่อทําหน้าที่ยึด และรักษาตําแหน่งของแท่นเอาไว้เพือป้องกันการกระแทกจากคลื่น นํ้าทะเล 

***  การรักษาตําแหน่งไม่ให้ตําแหน่งเคลือนย้ายนัน ถ้าเป็นริก รุ่นเก่าๆก็จะใช้วิธีทิ้งสมอยึดตําแหน่งดังที่กล่าวมา แต่ถ้าเป็นริกที่ ใหม่ๆหน่อยก็จะใช้ Thrusterหรือใบพัดเรือขนาดใหญ่ที่ใช้มอเตอร์ ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนและสามารถควบคุมความเร็วได้ หรือไม่ก็ใช้ ทั้งสมอและใบพัดสนันสนุนซึ่งกันและกัน

***  การควบคุมใบพัด ถ้าเป็นริกรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ดีซีมอเตอร์และใช้ SRC เป็นตัวควบคุมความเร็ว แต่ถ้าเป็นแท่นใหม่ๆหน่อยก็จะ ใช้เอซีมอเตอร์และใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวควบคุมความเร็วรอบ   

    แท่นเจาะแบบ Semi Submersibles เหมาะสําหรับขุดเจาะบริเวณที่มีนํ้าลึก ซึ่งบางลํา สามารถทําการขุดเจาะได้ลึกถึง 5,000 ฟุต หรือเท่ากับ 1,524 เมตรเลยทีเดียว 

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 15

Thrusters

DrillShip ( เรือขุดเจาะนํ้ามัน)

           Drillship…ริกประเภทนี้ชื่อสื่อความหมายชัดเจน…เป็นเรือทีติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ขุดเจาะนํ้ามัน  ซึงเหมาะสําหรับ การขุดเจาะในบริเวณที่มีนํ้าลึกมากถึง 40,000 ฟุต หรือ 12,120 เมตร (Ultra Deepwater ) และต้องการเคลื่อนย้ายตําแหน่งบ่อยๆ เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปยังตําแหน่งอื่นๆได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการลากจูงเหมือน Semi Submersibles และ Jack-Ups ดังที่กล่าวมาแต่ท่าว่ากันเรื่องเสถียรภาพของการปฏิบัติงานแล้ว ก็ยังเป็นรองแท่นประเภท Semi Submersibles 

       การรักษาตําแหน่งไม่ให้เคลื่อนในขณะทําการขุดเจาะก็จะมีวิธีทีคล้ายกับแบบ Semi Submersibles  ดังที่กล่าวมา คือการ ใช้สมอขนาดใหญ่และใช้ใบพัดหรือ thruster เป็นตัวยึดหรือพยุงไม่ให้ตําแหน่งเคลื่อนไหว 

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 17

เปรียบเทียบแท่นขุดเจาะแต่ละประเภท

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 19

ภาพเปรียบเทียบให้สมรรถนะและขีดความสามารถในการขุดเจาะของแท่นเจาะนอกชายฝังแต่ละประเภท (Cr: MEARSEK Drilling)

ประเภทของแท่นขุดเจาะนํ้ามัน(Types of Oil Rigs) 21

ภาพแสดงการยึดหรือการคงตําแหน่งขุดเจาะไม่ให้มีการเคลื่อนที่ของแท่นแต่ละประเภท

error: สงวนลิขสิทธิ์