Search
Close this search box.

เกร็ดความรู้น้ำมันเกียร์อุตสาหกรรม

หน้าที่ของน้ำมันเกียร์อุตสาหกรรม

ป้องกันการสึกหรอของชุดเกียร์

  • ในกระบวนการผลิตต่างๆ จะเกิดแรงกระทำที่หน้าสัมผัสของฟันเกียร์ทั้งแนวตั้งฉากและด้านข้าง การเสียดสีย่อมเกิดการสึกหรอและเสียหายได้ น้ำมันเกียร์ที่ใช้จะต้องมีฟิลม์ที่แข็งแรงและสามารถรับแรงกดเพื่อลดการเสียดทานและป้องกันการเสียดสีระหว่างผิวสัมผัสของเกียร์เพื่อป้องกันการสึกหรอตลอดสภาวะการทำงาน


ระบายความร้อน

  • ในการหล่อลื่นชุดเกียร์พบว่าปริมาณน้ำมันเพียง2%น้ำมันในอ่างทั้งหมดที่ทำหน้าที่หล่อลื่นระหว่างฟันเกียร์ส่วน98%ที่เหลือทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการระบายความร้อน ในแต่ละครั้งที่ฟันเกียร์ขบกัน แรงกดระหว่างฟันเกียร์จะทำให้เกิดความร้อนสะสมจนถึงจุดหนึ่งที่อุณหภูมิของชุดเกียร์คงที่นั้นคือจุดความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีที่เกิดขึ้นเท่ากับความร้อนที่น้ำมันระบายให้กับอากาศหรือระบบหล่อเย็น ในกรณีที่น้ำมันเกียร์ไม่สามารถถ่ายเทความร้อนจากชุดเกียร์ไปยังระบบหล่อเย็นได้ จะทำให้อุณหภูมิของชุดเกียร์สูงกว่าปกติ


ป้องกันสนิมและกำจัดสิ่งสกปรกออกจากระบบ

  • น้ำมันเกียร์ช่วยป้องกันสนิมโดยทำหน้าที่เคลือบผิวโลหะเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศและน้ำมันมีโอกาสทำปฏิกิริยากับโลหะในขนาดเดียวกันน้ำหรือสารแปลกปลอมอื่นๆจะถูกแขวนลอยในน้ำมันเกียร์และกำจัดจากระบบโดยไส้กรองหรือเกิดการแยกตัวในอ่างน้ำมัน

การเลือกใช้น้ำมันเกียร์ที่ถูกต้องช่วยให้การทำงานของเกียร์สม่ำเสมอและได้ประสิทธิภาพสูงสุด การใช้น้ำมันเกียร์ไม่ถูกต้องหรือคุณภาพต่ำจะทำให้เกียร์เกิดการสึกหรอ สั่น มีเสียงดัง สูญเสียกำลัง หรือเกิดความเสียหายในที่สุด ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ใช้พิจารณาก่อนจะตัดสินใจเลือกใช้นำมันเกียร์

– อุณหภูมิเริ่มต้นก่อนการทำงานจนถึงอุณหภูมิสูงสุดที่เกียร์ทำงาน
– ชนิดของเกียร์ เช่น เฟืองไฮปอยด์ เพืองเดือยหมู หรือเฟืองดอกจอก
– วัสดุที่ใช้ทำเกียร์
– ลักษณะของโหลดที่กระทำกับชุดเกียร์ เช่น โหลดเป็นลักษณะต่อเนื่อง หรือเป็นจังหวะของรอบการทำงาน หรือ ลักษณะกระแทก (Shock Load)

น้ำมันเกียร์ที่ใช้ในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้ 3 ชนิดคือ

น้ำมันเกียร์สำหรับงานเบา เกียร์จะรับโหลดน้อยแต่ขณะเดียวกันความเร็วรอบจะสูง หน้าที่สำคัญของน้ำมันคือระบายความร้อน ดังนั้นจึงนิยมใช้น้ำมันที่ใสกว่าปกติ เช่นเบอร์ 68 หรือ เบอร์100

น้ำมันเกียร์สำหรับงานปานกลางจนถึงหนัก เกียร์จะต้องทำงานภายใต้แรงกดสูงซึ่งมีแนวโน้มที่จะสึกหรอได้ง่าย น้ำมันที่ใช้จะต้องมีสารรองรับกดสูง (EP) เพื่อช่วยในการหล่อลื่นและป้องกันการสึกหรอที่อาจจะเกิดจากแรงกดหรือแรงสไลด์หรือจากการกระแทก

น้ำมันเกียร์สังเคราะห์ ใช้หล่อลื่นชุดเกียร์ที่ต้องทำงานภายใต้สภาวะที่รุนแรงกว่าปกติ เนื่องจากน้ำมันแร่ธรรมดามาสามารถรองรับการทำงานได้ โดยทั่วไปน้ำมันสังเคราะห์จะเหมาะกับชุดเกียร์ที่ต้องรองรับแรงโหลดสูงเป็นพิเศษ หรืออุณหภูมิสูงกว่าปกติ หรือเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของน้ำมันให้ยาวขึ้น

error: สงวนลิขสิทธิ์