ประเภทของแท่นเจาะนํ้ามัน (Types of Oil Rigs)
ริก(Rig) หรือ หรือแท่นเจาะนํ้ามันหากแยกประเภทตามลักษณะสภาพการนําไปใช้งานก็สามารถแบ่งออกได้เป็นสอง กลุ่ม คือแท่นบกหรือที่นิยมเรียกทัพศัพท์ว่าแลนด์ริก (Land Rig) และแท่นเจาะนํ้ามันนอกชายฝัง (อ๊อฟชอร์ ริก, Offshore rig )
ตัวอย่างแท่นเจาะนํ้ามันบก (Land Rig)
แท่นเจาะนํ้ามันบกนี้ ในบ้านเราก็มีให้เห็นอยู่หลายที่ด้วยกันตามแหล่งนํ้ามัน (Oil field ) ต่างๆเช่น แหล่งนํ้ามันสิริกิติที่ลานกระบือ จังหวัดกําแพงเพชร .. แหล่งนํ้ามันวิเชียรบุรี-เพชรบูรณ์ … แหล่งนํ้ามันสังฆจาย-สุพรรณบุรี และอื่นๆ
Offshore Rigs
ส่วน offshore rig จะเป็นแท่นที่ใช้ขุดเจาะนํ้ามันที่อยู่นอกชายฝังหรือในทะเล หรือตามน่านนําของประเทศต่างๆ ซึ่ง จะมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
Swamp barges
swamp barge คือริกที่ มีการติ้ดตั้งแท่นเจาะฯไว้ บนแพ เหมาะสําหรับ ขุดเจาะบริเวณนํ้าตื้นๆ เช่น หนองนํ้าหรือ
แม่นํ้า เป็นต้น หรือ บริเวณ ชายฝังที่มีคลื่นลมไม่แรงมาก
Tender Barges หรือ Tender rig หรือ Drilling Barges
แท่นแบบนี้จะออกแบบเหมือนกับแพบรรทุก ซึงจะบรรทุกแท่นขุดเจาะฯไปประกอบและติดตั้งที่ platform ต่างๆ และเมื่อเจาะเสร็จก็แยกแท่นออกเป็นส่วนย่อยและบรรทุกไว้บนแพเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ต้องการเจาะลําดับถัดไป
ข้อดีคือ ค่าเช่า(day rate)จะราคาถูกกว่าแท่นเจาะแบบอื่นๆ และเหมาะสําหรับบริเวณที่มีหลุมนํ้ามันอยู่ใกล้ๆกัน กล่าวคือ เมื่อติดตั้งแท่นเจาะฯบน platform เสร็จเรียบร้อยก็สามารถเจาะได้หลายๆหลุมในเวลาไล่เลียกัน โดยไม่ต้องถอดและเคลื่อน ย้ายตําแหน่งไปที่อื่น ซึ่งทําได้โดยเพียงแค่เลื่อนตําแหน่งแท่นเจาะนิดหน่อย ( Skid) ในระยะไม่กี่เมตรก็สามารถเจาะเพิ่มได้เลย
ข้อเสียคือ การถอดประกอบและติดตังแต่ละครังเป็นอะไรที่ยุ่งยากและที่สําคัญคือจะทําการขุดเจาะได้เฉพาะบริเวณที่มีการติดตั้งหรือสร้าง platform รอไว้ก่อนเท่านัน
แท่นถูกนําขึ้นไปประกอบและติดตั้งบน platform เรียบร้อย
Jack Up Rig
Jack Up คือ แท่นทีมี โครงสร้างของฐานหรือขา 3 ขาจุ่มลึกลงไปถึงก้น ทะเล ส่วนของฐานหรือลําตัวจะ ลอยสูงเหนือผิวนํ้าและ สามารถปรับระดับขึ้นลงได้ ข้อดีคือ ริกแบบนี่จะเข้า ประจําตําแหน่งได้รวดเร็ว ลดการเสียเวลาในการเคลื่อนย้ายซึ่งเหมาะกับ งานสํารวจ (exploration) ซึ่งถ้าเจอก็เก็บข้อมูลไว้ให้ นักธรณีวิเคราะห์แต่ถ้าไม่ เจอก็กลบหลุมแล้วเคลื่อน ย้ายไปสํารวจที่อื่นต่อไป ข้อจํากัดคือ สามารถปฏิบัติ การได้ที่ความลึกสูงสุด 500 ฟุต หรือเท่ากับ 152.4 เมตร เท่านั้น
Submersible drilling rig
Submersible โครงสร้างหรือแท่นขุดเจาะที่สามารถจุ่มนํ้าได้ แท่นขุดเจาะฯแบบนี้โดยทั่วไปจะใช้งานหรือใช้ขุดเจาะ นํ้ามันบริเวณนํ้าตื้นๆ ประมาณ 80 ฟุตหรือน้อยกว่า การเคลื่อนย้ายก็ทําโดยใช้เรือลากจูงไปยังสถานที่ที่ต้องการจะขุดเจาะ และจุ่มลงไปให้นังอยู่กับพื้นดินใต้นํ้า (submerged until it sits on the bottom)
ภาพประกอบจากกลูเกิล
*** แท่นเจาะนํ้ามันแบบอื่นๆนันผู้เขียนได้เคยไปเซอร์วิช ทํางาน และกินอยู่หลับนอนมาหมดแล้วทุกประเภท ยกเว้นริก ประเภทนี้ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยเห็นมาก่อน ซึงคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นแท่นเจาะรุ่นเก่าๆหรือแท่นเจาะรุ่นแรก
Semi-Submersible หรือแท่นขุดเจาะแบบลอยตัวกึ่งจม
Semi Submersibles คือ แท่นที่ถูกออกแบบและคํานวณมาให้สามารถลอยตัวอยู่ในนํ้าได้ …โครงสร้างติดตั้งบนเสาหรือ คอลัมน์ขนาดใหญ่ (culumns) และทุ่นท้องแบน(Pontoons) ขนาดใหญ่เป็นตัวรับนํ้าหนักอยู่ด้านล่างใต้นํ้าและจมอยู่ในระดับ ความลึกที่กําหนด
แท่นประเภทนี้เมื่อเข้าสู่ตําแหน่งปฏิบัติการหรือตําแหน่งที่ ต้องการเจาะแล้วกัปตันผู้ควบคุมดูแลจะสังให้ทําการทิงสมอขนาด ใหญ่( Huge mooring anchors) ลงสู่ก้นทะเล เพื่อทําหน้าที่ยึด และรักษาตําแหน่งของแท่นเอาไว้เพือป้องกันการกระแทกจากคลื่น นํ้าทะเล
*** การรักษาตําแหน่งไม่ให้ตําแหน่งเคลือนย้ายนัน ถ้าเป็นริก รุ่นเก่าๆก็จะใช้วิธีทิ้งสมอยึดตําแหน่งดังที่กล่าวมา แต่ถ้าเป็นริกที่ ใหม่ๆหน่อยก็จะใช้ Thrusterหรือใบพัดเรือขนาดใหญ่ที่ใช้มอเตอร์ ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนและสามารถควบคุมความเร็วได้ หรือไม่ก็ใช้ ทั้งสมอและใบพัดสนันสนุนซึ่งกันและกัน
*** การควบคุมใบพัด ถ้าเป็นริกรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ดีซีมอเตอร์และใช้ SRC เป็นตัวควบคุมความเร็ว แต่ถ้าเป็นแท่นใหม่ๆหน่อยก็จะ ใช้เอซีมอเตอร์และใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวควบคุมความเร็วรอบ
แท่นเจาะแบบ Semi Submersibles เหมาะสําหรับขุดเจาะบริเวณที่มีนํ้าลึก ซึ่งบางลํา สามารถทําการขุดเจาะได้ลึกถึง 5,000 ฟุต หรือเท่ากับ 1,524 เมตรเลยทีเดียว
Thrusters
DrillShip ( เรือขุดเจาะนํ้ามัน)
Drillship…ริกประเภทนี้ชื่อสื่อความหมายชัดเจน…เป็นเรือทีติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ขุดเจาะนํ้ามัน ซึงเหมาะสําหรับ การขุดเจาะในบริเวณที่มีนํ้าลึกมากถึง 40,000 ฟุต หรือ 12,120 เมตร (Ultra Deepwater ) และต้องการเคลื่อนย้ายตําแหน่งบ่อยๆ เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปยังตําแหน่งอื่นๆได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการลากจูงเหมือน Semi Submersibles และ Jack-Ups ดังที่กล่าวมาแต่ท่าว่ากันเรื่องเสถียรภาพของการปฏิบัติงานแล้ว ก็ยังเป็นรองแท่นประเภท Semi Submersibles
การรักษาตําแหน่งไม่ให้เคลื่อนในขณะทําการขุดเจาะก็จะมีวิธีทีคล้ายกับแบบ Semi Submersibles ดังที่กล่าวมา คือการ ใช้สมอขนาดใหญ่และใช้ใบพัดหรือ thruster เป็นตัวยึดหรือพยุงไม่ให้ตําแหน่งเคลื่อนไหว
เปรียบเทียบแท่นขุดเจาะแต่ละประเภท
ภาพเปรียบเทียบให้สมรรถนะและขีดความสามารถในการขุดเจาะของแท่นเจาะนอกชายฝังแต่ละประเภท (Cr: MEARSEK Drilling)
ภาพแสดงการยึดหรือการคงตําแหน่งขุดเจาะไม่ให้มีการเคลื่อนที่ของแท่นแต่ละประเภท