Search
Close this search box.

การดูแลบำรุงรักษาน้ำมันหล่อเย็น

วัตถุประสงค์ในการดูแลบำรุงรักษาน้ำมันหล่อเย็น
1) สามารถใช้น้ำมันหล่อเย็นที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมตลอดเวลา
2) ทำให้การใช้งานของน้ำมันหล่อเย็นยาวนานขึ้น จึงสามารถยืดระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย
3) ทำให้ชิ้นงานมีขนาดและคุณภาพเป็นไปตามที่กำหนดตลอดเวลา
4) ทำให้อายุการใช้งานของมีดตัด (Tool life) เป็นไปตามที่กำหนด
5) ป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจจะจะเกิดขึ้น เช่น การเกิดสนิมกับชิ้นงานหรือเครื่องจักร, การเน่าเสียก่อนระยะเวลาอันสมควร, การแพ้ของพนักงาน, ปัญหาเรื่องกลิ่นและละอองของน้ำมันหล่อเย็น

การตรวจสอบและการดูแลคุณภาพของน้ำมันหล่อเย็นนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก สภาพของน้ำมันหล่อเย็นควรได้รับการตรวจสอบและเฝ้าระวังปัญหา สิ่งที่ควรทำในการเฝ้าระวังได้แก่การตรวจสอบสภาพของระบบ, การตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการผสมน้ำมันหล่อเย็นดังต่อไปนี้

1) การผสมน้ำมันหล่อเย็น (Mixing)
    พฤติกรรมการผสมน้ำมันหล่อเย็นนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญต่อประสิทธิภาพของการใช้งานและปริมาณการใช้ของน้ำมันหล่อเย็น ขั้นตอนการผสมน้ำมันหล่อเย็นที่ไม่

หมายเหตุ : การผสมน้ำมันหล่อเย็นและน้ำจะต้องผสมโดยการเทน้ำมันลงไปในน้ำอย่างช้าๆ และทำการกวนให้เข้ากัน ห้ามผสมโดยการเทน้ำลงไปผสมกับน้ำมันหล่อเย็น เพราะจะทำให้น้ำมันหล่อเย็นผสมน้ำได้ไม่ดีและรวมตัวกันเป็นก้อน หรือจะเกิดการแยกชั้นในระบบน้ำมันหล่อเย็น หรืออาจจะใช้วิธีการผสมน้ำมันหล่อเย็นโดยใช้เครื่องผสมอัตโนมัติ (Auto coolant mixer) เพื่อประสิทธิภาพในการผสมที่ดีกว่า

2) คุณภาพของน้ำที่นำมาผสมน้ำมันหล่อเย็น (Water Quality)
– ความกระด้างของน้ำ (Water hardness) น้ำที่เหมาะสมต่อการผสมกับน้ำมันหล่อเย็นควรจะความกระด้างระหว่าง 80-125 ppm. ถ้าหากใช้น้ำที่มีความกระด้างต่ำกว่า 80 ppm จะมีแนวโน้มในการเกิดฟองมากและถ้าหากน้ำที่มีความกระด้างมาก (มากกว่า 300 ppm.) จะมีปริมาณของแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำมาก ซึ่งจะทำให้เกิดการแยกชั้นของน้ำมันหล่อเย็นหรือรวมตัวกันเป็นก้อนหากนำมาใช้ในการผสมน้ำมันหล่อเย็นหากมีปัญหาเรื่องน้ำกระด้าง  แนะนำให้ติดตั้งระบบกรอง หรือระบบทำน้ำ Deionized (DI) หรือ Reverse Osmosis (RO) เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานของน้ำมันหล่อเย็นที่ดี
– ความกระด้าง(Hardness) 80-125 ppm
– คลอไรด์, ซัลเฟต(Chloride ,Sulfates) < 50 ppm
– ฟอสเฟต (Phosphates) < 30 ppm

3) การตรวจสอบความเข้มข้นของน้ำมันหล่อเย็น  (Fluid concentrations)
การตรวจวัดความเข้มข้นโดยใช้กล้อง (Hand-Refractometer)
 กล้อง Refractometer เป็นเครื่องมือที่หาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง ที่สามารถใช้วัดความเข้มข้นของน้ำมันหล่อเย็น (% Brix) ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถพกพาได้อย่างสะดวก ควรตรวจวัดความเข้มข้นของน้ำมันหล่อเย็นทุกวัน เนื่องจากความเข้มข้นของน้ำมันหล่อเย็นจะมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการใช้งานของน้ำมันหล่อเย็น ถ้าหากความเข้มข้นต่ำเกินไป จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการหล่อลื่นของน้ำมันหล่อเย็นลดลง ทำให้ผิวงานไม่ได้ตามค่าที่ควบคุม อายุการใช้งานของมีดตัดลดลง (Short Tool life) หรือแม้กระทั่งจะส่งผลต่อการเกิดสนิมบนชิ้นงานหรือภายในเครื่องจักร หรืออาจทำให้น้ำมันหล่อเย็นเน่าเสียก่อนกำหนด เนื่องจากการเกิดแบคทีเรีย แต่ถ้าหากความเข้มข้นของน้ำมันหล่อเย็นสูงเกินไปกว่าที่กำหนดก็จะมีผลเสียเช่นกัน เช่นเกิดความสิ้นเปลืองมาก อาจจะเป็นสาเหตุของการระคายเคืองหรือแพ้ กลิ่นแรง หรือ ทำให้เกิดฟองมากขณะเครื่องจักรกำลังทำงาน

4) การวัดค่า pH ของน้ำมันหล่อเย็น
       ค่า pH คือการวัดสภาวะความเป็นกรด-ด่างของของเหลวค่า pH ของของเหลวเท่ากับ 7 จะมีสภาพกลาง ค่า pH สูงกว่า 7 ขึ้นไปถึง 14 จะเป็นของเหลวที่มีฤทธิ์เป็นด่าง (Alkaline) และค่า pH ต่ำกว่า 7 จัดเป็นของเหลวที่มีฤทธิ์เป็นกรด ช่วงของค่า pH ที่เหมาะสมสำหรับน้ำมันหล่อเย็นประเภทผสมน้ำควรจะมีค่าอยู่ระหว่าง 8.5 – 9.5 หรือมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน ๆ ซึ่งจะเป็นช่วงที่น้ำมันหล่อเย็นมีประสิทธิภาพการชะล้างได้ดี ทั้งยังสามารถป้องกันการกัดกร่อน (Corrosion) ป้องกันการแพ้และการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และจุลินทรีย์อื่นๆ ได้ดี
   ในกรณีที่ค่า pH ต่ำกว่า 8.5 ประสิทธิภาพของน้ำมันหล่อเย็นจะลดลง และจะทำให้เกิดปัญหาสนิม และการเจริญเติมโตของจุลินทรีย์ในระบบได้อย่างรวดเร็ว และในกรณีที่ค่า pH สูงกว่า 9.5 อาจจะก่อให้เกิดปัญหาการต่อผิวหนังได้ เช่นการแพ้ หรือการกัดกร่อนกับโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-Ferrous Metals)เช่น อลูมิเนียมอัลลอยล์
  การวัดค่า pH สามารถทำได้โดยใช้กระดาษลิตมัส (Litmus paper) ซึ่งสามารถขอรับได้จากผู้จำหน่ายน้ำมันหล่อเย็น หรืออาจหาซื้อได้ตามบริษัทที่จำหน่ายอุปกรณ์การทดลองในห้องปฎิบัติการ ตัวอย่างของกระดาษทดสอบค่า pH แบบง่ายได้แสดงไว้ในภาพด้านล่าง หรือ อาจจะใช้พีเอชมิเตอร์ (pH Meters) ก็จะสามารถอ่านค่าได้ง่ายและมีความถูกต้องมากขึ้น การใช้กระดาษลิตมัสเป็นวิธีการตรวจสอบค่า pH ที่ทำได้ง่ายประหยัดและเป็นวิธีการตรวจเช็คค่า pH แบบคร่าว ๆ แต่ความถูกต้องอาจจะมีไม่มาก

การดูแลบำรุงรักษาน้ำมันหล่อเย็น 1
error: สงวนลิขสิทธิ์