น้ำมันหล่อลื่น หรือ LUBRICANAT OILS เป็นสารหล่อลื่นสำหรับลดแรงเสียดทานสำหรับเครื่องจักรกล และเครื่องยนต์ เพื่อช่วยระบายความร้อน ป้องกันการสึกหรอของเครื่องจักร อีกทั้งยังสามารถยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร และเครื่องยนต์ให้มีอายุการใช้งานมากขึ้น
องค์ประกอบของน้ำมันหล่อลื่นที่สำคัญ มี 2 อย่าง คือ
1. น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน หรือ BASE OIL (ประมาณ 75 – 85% ของน้ำมันหล่อลื่น) ในส่วนนี้สามารถแยกย่อยออกมาได้อีก 3 ประเภท
– น้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์ (Vegetable or Animal oils) โดยน้ำมันจากส่วนนี้นั้นจะนิยมใช้ในสมัยก่อน แต่น้ำมันพื้นฐานชนิดนี้ คุณสมบัติทางด้านเคมีไม่เสถียร เสื่อมคุณภาพได้ง่ายมาก จึงจำเป็นต้องมีการนำมาปรับปรุงคุณภาพก่อนนำมาใช้งาน ทำให้ราคาสูงขึ้น จึงทำให้ความนิยมหมดไป น้ำมันพื้นฐานชนิดนี้ที่เราคุ้นเคยกันได้แก่ น้ำมันละหุ่ง น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันปลา เป็นต้น
– น้ำมันแร่ (Mineral Oils) เป็นน้ำมันพื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะเนื่องด้วยมีคุณภาพดี และราคาถูก ซึ่งน้ำมันแร่นี้ได้จากการนำส่วนน้ำมันก้นสุดของหอกลั่น นำมากลั่นภายใต้สภาพสุญญากาศ เพื่อแยกเอาน้ำมันหล่อลื่นชนิดใส และชนิดข้นออกมา ส่วนที่เหลือนั่นคือ ยางมะตอย และนำน้ำมันหล่อลื่นมาแยกสารมลทินออกเพื่อให้มีความอยู่ตัวเชิงเคมี และเชิงความร้อนที่ดีขึ้น
– น้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic Oils) เป็นน้ำมันพื้นฐานที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยกระบวนการทางเคมี จึงทำให้มีราคาค่อนข้างแพง ด้วยเหตุนี้ปัจจุบันจึงนิยมใช้น้ำมันพื้นฐานประเภทในนี้งานในเฉพาะที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษในด้านดัชนีความหนืดสูง จุดไหลเทต่ำ และมีการระเหยต่ำ
2. สารปรับปรุงคุณภาพ (Additives) (ประมาณ 15 – 25% ของน้ำมันหล่อลื่น) เป็นสารเคมีที่ช่วยปรับแต่งคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดีมากขึ้น เนื่องด้วยในปัจจุบันเครื่องจักรกล และเครื่องยนต์มีการออกแบบให้มีขนาดเล็กลง ทำงานเร็วขึ้นและสภาวะต่างๆสูงขึ้น เช่น อุณหภูมิ ความเครียด ภาระน้ำหนักสูง เป็นต้น ทำให้น้ำมันต้องมีการปรับแต่งคุณภาพให้ดีขึ้น เพื่อรองรับสภาวะดังกล่าว โดยสารปรับแต่งคุณภาพมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ได้แก่
– สารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Anti – Oxidation)
– สารป้องกันการสึกหรอ (Anti – Wear)
– สารป้องกันสนิม (Corrosion and Rust Inhibitor)
– สารป้องกันโฟม (Anti foam)
– สารรับแรงกดสูง (Extreme Pressure)
– สารเพิ่มดัชนีความหนืด (Viscosity Index Improver)
– สารเพิ่มความเป็นกรดด่าง (Total Base Number Booster ; TBN)
– สารชะล้าง / กระจายสิ่งสกปรก (Detergent and Dispersant)
หน้าที่ของน้ำมันหล่อลื่น
1. ช่วยหล่อลื่น (Lubricate) ชิ้นส่วนในเครื่องจักร เครื่องยนต์ ฟิล์มหรือเยื่อบางๆ ของน้ำมันหล่อลื่นจะทำหน้าที่เคลือบผิวโลหะหรือชิ้นงานที่มีการเคลื่อนที่ เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดสีกันโดยตรง
2. ช่วยระบายความร้อน (Coolant) โดยจะระบายความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และลดอุณหภูมิในระบบ
3. ช่วยรักษาความสะอาด (Clean) คือจะต้องสามารถชะล้างหรือขจัดคราบต่างๆ จากผิวชิ้นงานได้เป็นอย่างดี
4. ช่วยป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อน (Protect)
5. ช่วยกระจายความสกปรก (Dispersant)
6. เป็นซีลป้องกันการรั่วไหลของแรงอัดในกระบอกสูบ
7. เป็นตัวส่งกำลังในระบบไฮดรอลิก
ทั้งนี้ทาง WITTOIL ของเรานั้นเป็นบริษัทที่ผลิต และจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่น โดยมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากกว่าร้อยประเภท น้ำมันล้วน น้ำมันกึ่งสังเคราะห์ น้ำมันสังเคราะห์ สามารถรองรับการใช้งานทั้งในเครื่องเครื่องยนต์ เครื่องจักรในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีคุณภาพสูง เนื่องด้วยเราใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพจากต่างประเทศ ทำให้มั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับน้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพ เพื่อเครื่องจักรที่มีค่าของท่าน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ www.wittoil.com